Archive for กันยายน, 2012

รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ผักสวนครัว

รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์

การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPress

เรื่อง ผักสวนครัว

จัดทำโดย

เด็กหญิง เยาวลักษณ์  ทองจันทร์

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/7 เลขที่ 37

 

 

นำเสนอ

ครูจิระวัฒน์  รัตนประทีป

 

 

 

 

รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา

วิชา  เทคโนโลยี (โครงงานคอมพิวเตอร์ ง23102)

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

 

บทที่ 1

บทนำ

 

แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

แนวคิดของผักสวนครัว คือ อยากลองปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานและจำหน่าย จึงอยากลองสืบค้นเรื่องของการปลูกผักสวนครัว ส่วนที่มาของผักสวนครัวก็คือ ผักจะเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์และผักสมัยนี้ก็มีการฉีดยาฆ่าแมลงหากเราปลูกเอง ดูแลเองก็จะปลอดภัยมากกว่า ซึ่งผักสวนครัวนี้มีความสำคัญมากมายทั้งช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายให้เกลือแร่และวิตามิน เป็นต้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้เข้าใจการปลูกผักสวนครัวมากยิ่งขึ้น
  2. ต้องการมีผักที่ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงไว้รับประทาน
  3. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหาร

หลักการและทฤษฎี

การปลูกผักสวนครัวมีหลักดังนี้ คือ 1. การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอนดังนี้ 1) พรวนดิน 2) การยกแปลง 3) การปรับปรุงเนื้อดิน 4) การกำหนดหลุมปลูก ส่วน 2. การปลูกภาชนะต้องพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะและภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 ซม. คือ ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดฮ่องเต้ ปวยเล้ง เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดของโปรแกรมที่พัฒนาคือ เอาเรื่องราวที่สนใจมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูป WordPress ซึ่ง WordPress ใช้ทำเว็บไซต์ที่ใช้เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

–                   ปลูกผักสวนครัวได้ถูกตามหลักการ

–                   ได้ผักสวนครัวที่ปลอดยาฆ่าแมลง

 

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

      ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPress เรื่อง ผักสวนครัว นี้ ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารและจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

2.1 ความสำคัญของผักสวนครัว

2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับผักสวนครัว

2.3 เว็บบล็อก (WebBlog)

2.1 ความสำคัญของผักสวนครัว

ผักเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่ง  ที่เราใช้บริโภคเป็นอาหารประจำวัน ถ้าจะรวมมูลค่าของผักที่ใช้ภายในครอบครัว รวมทั้งผักจากสวนครัว ผักที่เก็บตามริมรั้ว  ริมคูคลอง ฯลฯ ผักที่ซื้อขายในท้องตลาด ผักที่ส่งออกไปขายต่างประเทศและส่งเข้ามาในรูปแบบต่างๆ  ทั้งรูปแบบของ  ผักสด   ผักกระป๋อง    ผักตากแห้ง เมล็ดพันธุ์ผักและอื่นๆ แล้ว ปีหนึ่งๆ ประเทศเราใช้ผักคิดเป็นเงินนับพันๆ ล้านบาท แต่ไม่สามารถจะแยกตัวเลขออกมาให้เห็นได้ชัด ยกตัวอย่างง่ายๆ  ถ้าเราบริโภคผักคิดเฉลี่ยวันละ 1 บาท  ต่อคน   ประชากรที่บริโภคผัก 40 ล้านคน ปีหนึ่งๆ เราจะใช้เป็นเงินประมาณ 14,600 ล้านบาท
อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ถูกจัดออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อาหารประเภทที่ให้การเจริญเติบโต    และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย  ได้แก่   อาหารจำพวกโปรตีน (protein) ซึ่งมีมากในจำพวกไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา กุ้งโดยทั่วไปผักเป็นแหล่งที่ให้โปรตีนน้อยมาก ยกเว้นถั่วเหลือง และถั่วอื่นๆ
2. อาหารประเภทที่ให้พลังงานและความอบอุ่นต่อร่างกาย      คือ          อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต(carbohydrate) ได้แก่ อาหารแป้ง และน้ำตาลอาหารแป้งมีมากในข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพดข้าวสาลี  มันเทศ มันฝรั่ง ตลอดจนอาหารจำพวกไขมัน  และน้ำมัน  เช่น เนย น้ำมันหมู น้ำมันพืชต่างๆ  เช่น   มะพร้าว ปาล์ม ถั่ว
3. อาหารประเภทเสริมสร้างให้ร่างกายเติบโตแข็งแรง   ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บมารบกวน   คือ อาหารจำพวกวิตามิน (vitamin) และเกลือแร่ (mineral) อาหารประเภทนี้ส่วนมากได้จากพืช
มนุษย์เราจะมีสุขภาพดี  จะต้องรับประทานอาหารทั้งสามประเภทดังกล่าวในปริมาณที่เพียงพอและได้ส่วนสัดกัน ประเทศที่พัฒนาแล้ว  คนของเขามีอาหารดีๆ บริโภค  คนของเขาโดยส่วนรวมจึงมีพัฒนาการในด้านสมองและร่างกายดีกว่าคนของเรา       ซึ่งเป็นประเทศที่ยากจน   และยังมีคนที่เป็นโรคขาดแคลนอาหาร (malnutrition) อยู่อีกมากผักเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง      โดยเฉพาะในแง่ของวิตามิน     และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อโภชนาการ (nutrition) ของมนุษย์   การเลือกบริโภคผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นประจำ ร่างกายจะได้รับวิตามินและเกลือแร่พอเพียง   ตัวอย่างของผักที่ควรเลือกใช้เป็นอาหาร คือ  ผักที่มีเนื้อสีเหลือง  เช่น ฟักทอง   แครอท  มันเทศ  มันฝรั่ง  เพราะมีแคโรตีน (carotene) สูง  เมื่อเราบริโภคผักเหล่านี้สารแคโรตีนจะถูกเปลี่ยนในร่างกายของเราให้กลายเป็นวิตามิน เอ ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย   ให้ความแข็งแรงต่อเยื่อบุต่างๆ ช่วยให้ใช้สายตาในที่มืดได้ดีขึ้น ผู้ที่ขาดวิตามิน เอ จะมีร่างกายแคระแกร็น ฟันผุ เป็นหวัดง่าย ตาอักเสบง่าย
ถั่วชนิดต่างๆ มีวิตามิน บี 1 (thiamine) สูงวิตามินนี้มีบทบาทในการย่อยอาหารแป้ง และน้ำตาลให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ผู้ที่ขาดวิตามิน บี ๑มักจะเป็นโรคเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หงุดหงิดอ่อนเพลีย และอาจเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้
ผักใบสีเขียวต่างๆ  มีวิตามิน บี 2 (riboflavin)ที่มีบทบาทในการเผาผลาญการย่อย  หรือการใช้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต  ผู้ที่ขาดวิตามิน บี 2 มักจะเป็นโรคปากนกกระจอก  ลิ้นอักเสบ เหงือกอักเสบ โรคผิวหนังแห้งผิวลอกขนร่วง
ถั่วลิสงมีวิตามิน พีพี  (vitamin PP หรือ niacin) สูง ป้องกันการเป็นโรคผิวหนังกระ ระบบประสาทพิการ มะเขือเทศ   มะเขือเปรี้ยว  มะนาว  ผักใบเขียว  มีวิตามิน ซี (ascorbic  acid) สูง  ผู้ที่ขาดวิตามินนี้จะเป็นโรคโลหิตจาง ซีดเซียว  แคระแกร็นกระดูกไม่แข็งแรง เป็นโรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟัน และเป็นหวัดง่าย
ผักกาดและผักกินใบต่างๆ    มีแร่ธาตุสูงเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม ธ  าตุนี้ช่วยในการสร้างกระดูก ทำให้โครงกระดูกและฟันแข็งแรง ผู้ที่มีสุขภาพดีมักจะมีฟันแข็งแรง  นอกจากนี้ผักเหล่านี้ยังมีธาตุเหล็กสูง  ธาตุนี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดโลหิตแดงผู้ที่ขาดธาตุนี้  จะเป็นโรคโลหิตจางถั่วเหลือง    มีโปรตีนหรือกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายสูง   การใช้ถั่วเหลืองในรูปต่างๆ   เช่น ถั่วงอก เต้าเจี้ยว เต้าหู้ น้ำนม ถั่วเหลือง   ถั่วแผ่น   เนื้อเกษตร   (เนื้อเทียมที่ทำจากถั่ว)   สามารถช่วยเพิ่มอาหารโปรตีนในท้องที่ที่ขาดอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ปลา นม และไข่ได้ถั่วอีกหลายชนิดยังอุดมไปด้วยอาหารประเภทไขมัน และน้ำมัน (fat & oil) ด้วย

ผักหลายชนิด เช่น มันเทศ มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน (vegetable corn or baby corn)  ยังสมบูรณ์ด้วยอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลอีกด้วย
การที่จะให้ผักยังคงคุณค่าทางอาหารสูงนั้นขึ้นอยู่กับวิธีเลือกใช้ส่วนต่างๆ ของผักตลอดจนวิธีการรักษาและปรุงอาหาร เช่น ใบกะหล่ำปลีใบนอกที่มีสีเขียวมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าใบในที่มีสีขาว  ผักกาดที่ถูกปล่อยให้เหี่ยวแห้งมีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าผักกาดที่เก็บรักษาให้สดเสมอ ผักที่ได้รับการต้มจนสุกเปื่อย  คุณค่าทางอาหารอาจจะถูกทำลายหมดด้วยความร้อน  ดังนั้นผักสดจึงเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าผักรูปอื่นๆ เช่น ผักกระป๋อง ผักตากแห้ง
นอกจากผักจะสามารถจัดสรรอาหาร  3  ประเภท คือ อาหารประเภทโปรตีนที่ให้ความเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย อาหารประเภทแป้งและน้ำตาล และไขมัน น้ำมันที่ให้พลังงาน และความอบอุ่นต่อร่างกาย อาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ที่เสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ผักยังมีปริมาณน้ำสูง มีเซลลูโลส (cellulose) หรือกากอาหาร (fiber)ซึ่งสารนี้ช่วยเสริมกิจกรรมการย่อยอาหารและขับถ่ายของร่างกายให้เป็นปกติ ยิ่งไปกว่านั้นผักบางชนิด เช่น พริก ความเผ็ดของพริกยังใช้เป็นเครื่องชูรส และเครื่องกระตุ้นให้เรารับประทานอาหารได้เอร็ดอร่อยขึ้น  ผักหลายชนิดใช้สกัดทำสีย้อมอาหารให้น่ารับประทานขึ้น และไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกาย เช่น ดอกอัญชันใช้สกัดสีม่วง  ใบเตยใช้สกัดสีเขียวใบไม้เป็นต้น
โดยที่ประเทศเรายากจน  ผักจึงเป็นพืชประเภทหนึ่ง  ที่สามารถจะเสริมโภชนาการให้แก่คนยากจนในท้องถิ่นทุรกันดารได้  โดยเฉพาะในเรื่องของโภชนาการเด็ก  ซึ่งควรแก่ความสนใจของรัฐเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเราไม่เริ่มสร้างสมองและความแข็งแรงให้แก่คนของประเทศเราตั้งแต่เด็กแล้ว การที่จะมาสร้างเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะไม่ก่อให้เกิดพัฒนาการในด้านสมองร่างกายและจิตใจเท่าใด
ตามที่กล่าวมาแล้ว  ผักมิใช่แต่จะใช้เป็นอาหารของมนุษย์เท่านั้น แต่ผักยังใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย  ดังนั้นเราอาจเปลี่ยนผักให้เป็นเนื้อสัตว์หรือ โปรตีนได้  ยิ่งไปกว่านั้นในระยะที่น้ำมันขาดแคลนแทนที่เราจะทิ้งเศษผักกองใหญ่ๆ ให้เน่าเหม็นโดยไร้ประโยชน์ เราอาจจะใช้เศษผักที่กำลังเน่าเปื่อยไปทำเป็นแก๊สชีวภาพ (biogas)  ใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันได้รูปหนึ่ง เศษผักที่เหลือจากการสลายตัวแล้วยังสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์  หรือปุ๋ยธรรมชาติบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ด้วย

2.2  ข้อมูลเกี่ยวกับผักสวนครัว

รู้จักพืชผักสวนครัว

ผักสวนครัว  หมายถึง  พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อใช้     บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว  ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการนำมาประกอบอาหารได้ 4 ประเภท  ดังนี้

1.  ใช้ผลเป็นอาหาร  เช่น  แตงกวา  มะเขือเทศ  พริกหวาน

2.  ใช้ใบและลำต้นเป็นอาหาร  เช่น  ผักกาดขาว  ตำลึง  ผักคะน้า  สะระแหน่

3.  ใช้ดอกเป็นอาหาร  เช่น  กะปล่ำดอก  ดอกแค  บร็อคโคลี่

4.  ใช้หัวหรือรากที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร  เช่น  หอมหัวใหญ่  แครอท  กระเทียม  ขิง

พืชผักสวนครัวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือแร่ และวิตามิน การบริโภค

การขยายพันธุ์พืชผักสวนครัว

วิธีการขยายพันธุ์พืชผักสวนครัว  มีหลายวิธีดังนี้

1.  การเพาะเมล็ด

เป็นวิธีการนำเมล็ดพันธุ์พืชที่คัดเลือกพันธุ์แล้วมาหว่าน  โรย  หรือหยอดลงหลุมในภาชนะ  หรือแปลงเพาะที่เตรียมไว้  ซึ่งก่อนที่จะเพาะเมล็ด  ต้องเตรียมดินโดยดายหญ้าหรือวัชพืชให้หมด  ตากดินไว้ประมาณ 2-3 วัน  แล้วย่อยดินให้ร่วนซุย  จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกผสมให้เข้ากัน  แล้วนำไปใส่ในภาชนะหรือแปลงเพาะที่เตรียมไว้

วิธีเพาะเมล็ดสามารถทำได้หลายวิธี  ดังนี้

1.  เพาะเมล็ดแบบต้นเดียว

2.  เพาะเมล็ดในกระบะเพาะ

3.  เพาะเมล็ดในแปลงเพาะ

2.  การแยกหน่อหรือหัว

เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่นิยมทำกันมาก  เพราะจะทำให้พืชไม่กลายพันธุ์สามารถทำได้รวดเร็ว  และพืชเจริญเติบโตได้ดีกว่าเพาะเมล็ด  พืชสวนครัวที่ใช้หน่อหรือหัวขยายพันธุ์  เช่น  หัวหอม  กระเทียม  ขิง  ข่า  เป็นต้น

การขยายพันธุ์พืชโดยการแยกหน่อหรือหัว  เป็นวิธีการนำหน่อหรือหัวของพืชที่คัดเลือกแล้ว  มาปลูกลงในภาชนะหรือแปลงเพาะที่เตรียมดินไว้  จากนั้นกลบดินและกดให้แน่น  รดน้ำให้ชื้นเพื่อให้พืชแทงหน่อได้ง่าย

เมื่อแยกหน่อหรือหัวเสร็จแล้ว  ก็มาถึงขั้นตอนการปลูก  ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี  ดังนี้

1.  ปลูกแบบต้นเดียว

2.  ปลูกในกระบะเพาะ

3.  ปลูกในแปลงเพาะ

การปลูกพืชผักสวนครัว

เมื่อพืชผักสวนครัวที่ปลูกเติบโตขึ้นสักระยะ  เราจะต้องทำการย้ายต้นกล้าของพืชผักสวนครัวจากภาชนะ  กระบะเพาะ  หรือแปลงเพาะ  มาสู่แปลงปลูก  เพื่อให้พืชผักสวนครัวเจริญเติบโตต่อไป

การย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลงปลูก  มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

1.  เตรียมดินในแปลงปลูก  และขุดหลุมให้ลึกพอสมควร

2.  ใช้ช้อนปลูกขุดย้ายต้นกล้า  โดยมีดินติดรากมาด้วย

3.  จับปลายใบของต้นกล้าหย่อนลงในหลุมที่เตรียมไว้  แล้วเกลี่ยดินกลบ  จากนั้นกดดินรอบ ๆ โคนต้นให้แน่น

4.  รดน้ำให้ชุ่มทั้งแปลง  และทำเพิงบังแดดจนกว่าต้นกล้าจะแข็งแรง

2.3 เว็บบล็อก (WebBlog)

ความหมายของเว็บบล็อก (WebBlog)

เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า “บล็อก” ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า “บล็อกเกอร์”

บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้นเพื่อ เสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

ประเภทของเว็บบล็อก

1. แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อกได้แก่

1.1. Linklog บล็อกแบบนี้น่าจะเป็นบล็อกรุ่นแรก ๆ เป็นบล็อกที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้ ถ้าคณยังจำผู้ให้กำเนิดคำว่า “บล็อก” ที่ชื่อ จอห์น บาจเจอร์ได้ นั่นแหล่ะครับ robotwisdom.com ของเขาคือตัวอย่างของ linklog นั่นเอง แม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิ๊งก์เท่านั้น แต่ก็ไม่เรียงเหมือนว็บไดเร็กทอรี่ เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิ๊งก์ของเขา 1 – 2 ลิ๊งก์ต่อโพสต์เท่านั้นครับ ใครที่อยากมีบล็อกเป็นของตนเองแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำบล็อกแบบไหน linklog น่าจะเป็นการเริ่มต้นการทำบล็อกได้เป็นอย่างดี

1.2 Photoblog ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า Photo บล็อกประเภทนี้เน้นในโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนำเสนอ และมักจะไม่เน้นที่จะเขียนข้อความมากนัก บางบล็อกเรียกได้ว่าภาพโดยเจ้าของบล็อกล้วน ๆ เลยครับ

1.3. Vlog ย่อมาจาก Videoblog เป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อก Vlog เป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทำกันมากในอนาคต เพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ ที่ทำให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว movie

2. แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่

2.1 บล็อกส่วนตัว(Personal Blog) นำแสนอความคิดเห็น กิจวัตรประจำวันของเจ้าของบล็อกเป็นหลัก

2.2 บล็อกข่าว(News Blog) บล็อกที่นำเสนอข่าวเป็นหลัก

2.3 บล็อกกลุ่ม(Collaborative Blog) เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม เช่น blognone.com

2.4 บล็อกการเมือง(Politic Blog) ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วน ๆ

2.5 บล็อกเพื่อสิ่งแวดล้อม(Environment Blog) พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม

2.6 มีเดียบล็อก (MediaBlog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อ  เช่น oknation.net/blog/black ของสุทธิชัย หยุ่น

2.7 บล็อกบันเทิง(Entertainment Blog) บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวบันเทิงทั้งทางจอแก้ว และจอเงิน เรื่องซุบซุดารา กองถ่าย ฯลฯ

2.8 บล็อกเพื่อการศึกษา(Educational Blog) ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือ แลกเปลี่ยนความคิดกัน

2.9 ติวเตอร์บล็อก(Tutorial Blog) เป็นบล็อกที่นำเสนอวิธีการต่าง

เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก

http://www.blogger.com http://www.exteen.com http://www.mapandy.com http://www.buddythai.com http://www.imigg.com http://www.5iam.com http://www.blogprathai.com http://www.ndesignsblog.com http://www.idatablog.com http://www.inewblog.com http://www.onblogme.com http://www.freeseoblogs.com http://www.sumhua.com http://www.diaryi.net http://www.istoreblog.com http://www.skypream.com http://www.thailandspace.com http://www.sungson.com http://www.gujaba.com http://www.sabuyblog.com http://www.ugetblog.com http://www.jaideespace.com http://www.maxsiteth.com http://www.my2blog.com

 

ประวัติของเว็บไซต์ WordPress

wordpress หลายคนรู้จักกันดีและบางคนก็อาจจะกำลังใช้งานอยู่ก็ได้แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า wordpress มีประวัติความเป็นมายังไงเดี๋ยวจะได้รู้กันครับ ความเป็นมาของ wordpress เริ่มจาก B2 หรือ cafelog คือผู้ที่ให้กำเนิดการทำงานของเว็บบล๊อกที่ชื่อว่า wordpress ได้การผลิตบล็อกชนิดนี้ขึ้นครั้งแรกประมาณปี 2003 ตอนนั้นมีบล็อก wordpress อยู่ประมาณ 2000 บล็อก บล็อกที่ชื่อว่า wordpress นี้ เขียนด้วยภาษา PHP เพื่อที่จะใช้กับ MySQL โดยผู้เขียน wordpress ก็คือ Michel Valdrighiเป็นผู้ร่วมพัฒนา wordpress ตอนนั้น wordpress ยังอยู่ใน B2evolution wordpress ได้ปรากฏสู่โลกในปี 2003 โดยเป็นความพยายามของ MattMullenweg และ Mike little ในปี 2004 ได้ถูกเปลี่ยนแปลงโดย six apart ทำให้มีผู้งาน wordpress จำนวนมากขึ้น และเริ่มก่อเกิดแบรนด์wp หรือ wordpress ขึ้นมาและมีการใช้งานมากขึ้นและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ในปี 2007 wordpress ได้รับรางวัลชนะเลิศในเรื่องของ Packt opensource CMS award

เว็บไซต์นี้ จะแนะนำถึงวิธี การใช้ WordPressตั้งแต่พื้นฐานเริ่มต้น ไปจนถึงการเพิ่มเทคนิคลูกเล่นต่าง ๆ แต่ก่อนที่จะไปเรียนรู้กัน เราควรมารู้จักก่อนว่า WordPressคือ อะไร

WordPress คือ โปรแกรมสำเร็จรูปตัวหนึ่ง ที่เอาไว้สำหรับสร้าง บล็อก หรือ เว็บไซต์ สามารถใช้งานได้ฟรี ถูกจัดอยู่ในประเภท CMS (Contents Management System) ซึ่งหมายถึง โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีไว้สำหรับสร้างและบริหารจัดการเนื้อหาและข้อมูลบนเว็บไซต์

WordPress ได้รับการพัฒนาและเขียนชุดคำสั่งมาจากภาษา PHP (เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งตัวหนึ่ง) ทำงานบนฐานข้อมูล MySQL ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับจัดการฐานข้อมูล มีหน้าที่เก็บ เรียกดู แก้ไข เพิ่มและลบข้อมูล การใช้งาน WordPress ร่วมกับ MySQL อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตใช้งานแบบ GNU General Public License

WordPress ปรากฏโฉมครั้งแรกในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2546 (2003) เป็นความร่วมมือกันระหว่าง MattMullenwegและ Mike Littlejมีเว็บไซต์หลักอยู่ที่ http://wordpress.org และยังมีบริการ Free Hosting (พื้นที่สำหรับเก็บทุกอย่างของเว็บ/บล็อก) โดยขอใช้บริการได้ที่ http://wordpress.com

ปัจจุบันนี้ WordPress ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ใช้งานมากกว่า 200 ล้านเว็บบล็อกไปแล้ว แซงหน้า CMS ตัวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Drupal , Mambo และ Joomlaสาเหตุเป็นเพราะ ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง Programing มีรูปแบบที่สวยงาม อีกทั้งยังมีผู้พัฒนา Theme (รูปแบบการแสดงผล) และ Plugins (โปรแกรมเสริม) ให้เลือกใช้ฟรีอย่างมากมาย

นอกจากนี้ สำหรับนักพัฒนา WordPress ยังมี Codex เอาไว้ให้เราได้เป็นไกด์ไลน์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน สำหรับพัฒนาต่อยอด หรือ นำไปสร้าง Theme และ Plugins ขึ้นมาเองได้อีกด้วย หนำซ้ำ ยังมีรุ่นพิเศษ คือ WordPress MU สำหรับไว้ให้ผู้นำไปใช้ สามารถเปิดให้บริการพื้นที่ทำเว็บบล็อกเป็นของตนเอง เพื่อให้ผู้อื่นมาสมัครขอร่วมใช้บริการในการสร้างเว็บบล็อก ภายใต้ชื่อโดเมนของเขา หรือที่เรียกว่า Sub-Domain

จากที่ได้เกริ่นนำไปในบทความนี้ คงจะทำให้รู้จัก และได้ทราบประวัติความเป็นมา รวมถึงความหมายกันไปบ้างแล้วว่า WordPressคือ อะไร ในบทความหน้า เราจะได้เริ่มเรียนรู้ถึงรูปแบบ และวิธีการใช้งาน ไปจนถึงการเพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ ต่อไป

บทที่ 3

 วิธีดำเนินงานโครงงาน

     ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPress เรื่องการปลูกผักสวนครัวนี้ ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา

3.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3.1.2 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ www.wordpress.com

3.1.3 เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น http://www.facebook.com , http://www.hotmail.com ,www.google.com 3.1.4 โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพ เช่น Adobe Photoshop CS4 และ PhotoScape v3.6.2.

 

3.2 วิธีการดำเนินงาน

ศึกษาโปรแกรมแล้ววิธีใช้โปรแกรมสำเร็จรูป WordPressปรับแต่งเว็บไซต์ด้วย WordPress จากนั้นศึกษาเรื่องการปลูกผักสวนครัว ปรับแต่งโครงงานลงใน WordPress ตรวจสอบและแก้ไข สุดท้ายจำทำรายงานและนำเสนอ

แผนการปฏิบัติ

ลำดับที่

กิจกรรม

เดือนที่ 1

เดือนที่ 2

เดือนที่ 3

เดือนที่ 4

1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4

1

ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูป wordpress  /  /

2

ศึกษาวิธีใช้การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป wordpress  /  /

3

ปรับแต่งเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป wordpress  /  /  /  /  /  /

4

ศึกษาเรื่องการปลูกผักสวนครัว  /  /

5

ปรับแต่งโครงงานลงในการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป wordpress  /  /  /  /

6

ตรวจสอบและแก้ไข  /  /

7

จัดทำรายงาน และนำเสนอ  /  /

3.3 ขั้นตอนการดาเนินงาน

3.3.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน

3.3.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องการปลูกผักสวนครัว ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป 3.3.3 ศึกษาการสร้างเว็บบล็อกที่สร้างจากเว็บไซต์ WordPress จากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอเทคนิค วิธีการสร้างเว็บบล็อก

3.3.4 จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาผ่านเว็บบล็อกของตัวเอง โดยได้นำไฟล์ข้อมูลไปฝากไว้ที่เว็บไซต์ชื่อ http://www.slideshare.net

3.3.5 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPress เรื่องการปลูกผักสวนครัว โดยการสมัครสมาชิก และสร้างบทเรียนที่สนใจตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอไว้แล้ว ทั้งนี้ได้นำเสนอบทเรียนผ่านเว็บบล็อกที่ https://yongyong47.wordpress.com

3.3.6 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาโครงงานเข้าไปตรวจความก้าวหน้าของโครงงานผ่านเว็บไซต์ http://www.facebook.com/YoNgYaowalak ซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น อีกทั้งได้สร้างเครือข่ายสังคมโดยใช้เว็บไซต์ Facebook เพื่อให้เพื่อนๆ มาช่วยให้ข้อเสนอแนะ และสื่อสารกันหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเว็บบล็อกดังกล่าว

3.3.7 จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์และนำฝากข้อมูลไฟล์ดังกล่าวไว้ที่เว็บ http://www.slideshare.net แล้วนำมาเชื่อมโยงผ่านเว็บบล็อกที่สร้างขึ้น

3.3.8 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอผ่านเว็บบล็อก ที่ชื่อ https://yongyong47.wordpress.com แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน และให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมประเมิน โดยการสร้างกล่อง Like Box เพื่อให้คลิก Like และคอมเมนท์ในหน้าเว็บบล็อก

3.3.9 นำเสนอผ่านเว็บบล็อก ที่ชื่อ http:// yongyong47.wordpress.com เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ต่อไป

บทที่ 4

ผลการดำเนินงานโครงงาน

 

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPress เรื่อง การปลูกผักสวนครัวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วยWordpress และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับผักสวนครัว เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครูเพื่อนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้

 

ผลการพัฒนาเว็บบล็อก

การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPressเรื่องการปลูกผักสวนครัวนี้   ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ                       -http://www.wordpress.com จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttps://yongyong47.wordpress.comซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ                                         -http://www.facebook.com/YoNgYaowalak ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ   ได้เป็นอย่างดีโดยทั้งครูที่ปรึกษา  เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้   โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย        ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว

การบำรุงรักษาพืชผักสวนครัว

การบำรุงรักษาพืชผักสวนครัวอย่างสม่ำเสมอ  จะทำให้พืชที่ปลูกไว้เจริญเติบโตและงอกงามได้ดี  โดยมีหลักปฏิบัติ  ดังนี้

1.  การรดน้ำ  ควรรดน้ำในตอนเช้าและตอนเย็น โดยค่อย ๆ รดน้ำให้ชุ่มชื้น  แต่อย่าให้แฉะจนเกินไป  เพราะจะทำให้รากเน่าได้

2.  การพรวนดิน  ควรพรวนดินทุก ๆ 7-10 วัน  โดยพรวนให้ทั่วทั้งแปลง  และพรวนให้ลึกพอสมควร  แต่ควรระวังอย่าให้ถูกราก  เพราะอาจทำให้รากขาดได้

3.  การใส่ปุ๋ย  ควรเลือกใส่ปุ่ยให้เหมาะกับพืช  โดยโรยให้ทั่วแปลงปลูกในปริมาณที่พอเหมาะ  แล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังจากใส่ปุ๋ยแล้วทุกครั้ง

4.  การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช  ขณะพรวนดินควรถอนหรือเก็บวัชพืชออกให้หมด  และควรดายหญ้าในแปลงปลูกอยู่เสมอ  ถ้ามีแมลงศัตรูพืชต้องเก็บทิ้งหรือใช้ยากำจัดศัตรูพืชฉีดป้องกันประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

การเก็บเกี่ยวพืชผักสวนครัว

การเก็บเกี่ยวพืชผักสวนครัวจะทำเมื่อผักเจริญเติบโตเต็มที่  ซึ่งมีข้อปฏิบัติดังนี้

1.  ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตในตอนเช้าหรือตอนเย็น

2.  ควรใช้กรรไกรตัดกิ่งหรือมีดคม ๆ เก็บเกี่ยว  เพราะจะทำให้พืชผักไม่ช้ำ

3.  หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว  ควรนำพืชไปแช่น้ำหรือพรมน้ำ  เพื่อป้องกันผักเหี่ยว

     ตัวอย่างการปลูกพืชผักสวนครัว

     การปลูกผักกาดหอม

ผักกาดหอมเป็นพืชที่ปลูกง่าย  และเจริญเติบโตได้เร็ว  สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล  แต่จะให้ผลผลิตดีที่สุดเมื่อปลูกในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม – มกราคม

การปลูกผักกาดหอม  มีขั้นตอนดังนี้

1.  การปลูกพืชต้นกล้า  มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1)  เตรียมดินในภาชนะปลูกหรือแปลงปลูก  แล้วหว่านเมล็ดผักกาดหอมให้กระจายทั่วแปลง

2)  เกลี่ยดินกลบให้เมล็ดแน่น  คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง  แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

2.  การย้ายต้นกล้า  มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1)  เตรียมดินในแปลงปลูก  ขุดหลุมให้ลึกพอสมควร  โดยแต่ละหลุมห่างประมาณ 30 เซนติเมตร  แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

2)  ขุดต้นกล้าจากแปลงเพาะไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ทันที  ไม่ควรทิ้งไว้นาน  เพราะต้นกล้าอาจตายได้

3)  กดดินรอบ ๆ โคนต้นให้แน่น  แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

4)  ระยะ 2-3 วันแรก  ควรทำเพิงบังแดดให้ต้นกล้า  โดยเปิดให้ต้นกล้าได้รับความชื้นในช่วงเวลาเย็นและเวลากลางคืน

3.  การบำรุงรักษา  มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1)  การให้น้ำ  ควรรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง  ในเวลาเช้าและเย็น  โดยรดน้ำให้ชุ่มและทั่วแปลง  แต่อย่าแฉะจนเกินไป

2)  หารใส่ปุ๋ย  ควรพรวนดินให้ร่วนซุย  แล้วใส่ปุ๋ย  โดยหว่านปุ๋ยให้ทั่วแปลงปลูก  และรดน้ำตามทันที

3)  การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช  ควรทำอย่างสม่ำเสมอ  ขณะพรวนดินควรถอนหญ้าที่ขึ้นอยู่รอบ ๆ ด้วยทุกครั้ง

4.  การเก็บเกี่ยว

ผักกาดหอมจะเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุประมาณ 40-45 วัน  และควรเก็บในช่วงเวลาเย็นที่มีแสงแดดอ่อน ๆ โดยใช้มีดคม ๆ ตัดบริเวณโคนต้น  แล้วดึงใบที่แก่ทิ้งก่อนนำไปประกอบอาหาร  หรือนำไปจำหน่าย

เกร็ดน่ารู้คู่บ้าน

การเก็บเกี่ยวผักกาดหอม  ควรเลือกเก็บขณะที่ต้นผักกาดหอมยังอ่อนอยู่  และยังไม่ออกดอก  เพราะถ้าเก็บต้นแก่จะได้ผักกาดหอมที่มีรสขม

บทที่ 5

สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ

 

     การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPress เรื่อง ผักสวนครัว นี้ สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้

5.1 การดำเนินงานจัดทาโครงงาน

5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน

5.1.1.1 เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPress เรื่อง การปลูกผักสวนครัว

5.1.1.2 เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัว

5.1.1.3 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกจาก WordPressได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น

5.1.1.4 เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครูเพื่อนและผู้สนใจทั่วไป

5.1.2 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา

5.1.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

5.1.1.2 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ www.wordpress.com

5.1.1.3 เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเช่น www.facebook.com , www.hotmail.com , http://www.google.com 5.1.2.4 โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพเช่นAdobe Photoshop CS4 และ PhotoScape v3.6.2.

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPress เรื่อง การปลูกผักสวนครัวนี้   ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ                         –                          -http://www.wordpress.com จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ https://yongyong47.wordpress.com ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ                                          –http://www.facebook.com/YoNgYaowalak ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ  ได้เป็นอย่างดีโดยทั้งครูที่ปรึกษา   เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้    โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย        ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว

5.3 ข้อเสนอแนะ

5.3.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป

5.3.1.1 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ WordPress เป็นเว็บบล็อกสำเร็จรูปที่ใช้ทำเว็บไซต์ได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อการ

ละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นผู้จัดทำควรเผยแพร่สิ่งที่ดี ๆ ให้บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมหรือศึกษาได้ความรู้และสิ่งดี ๆ นำไปเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่นมาศึกษาความรู้ ที่เป็นประโยชน์ต่อไป

5.3.1.2 ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้

5.3.1.3 ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม

5.3.2 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา

 5.3.2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา เข้าพร้อมกันก็จะทำให้ช้า จึงทำให้การพัฒนาเว็บบล็อกเกิดความล่าช้าตามไปด้วย

5.3.2.2 เพื่อนนักเรียนบางคนเรียนรู้การพัฒนาเว็บบล็อกค่อนข้างช้า ทำให้ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้ เพราะครูผู้สอนไม่สามารถสอนเนื้อหาเพิ่มเติมได้

ผักสวนครัว

พืชผักสวนครัว

              พืชผักสวนครัว คือผักที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือที่ว่างต่าง ๆ ในชุมชนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกไว้สำหรับรับประทานเองภายในครอบครัวหรือชุมชน การปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานจะทำให้ผู้ปลูกได้รับประทานผักสดที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ มีความปลอดภัยจากสารเคมี ลดรายจ่ายในครัวเรือน และที่สำคัญทำให้สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันในการปลูกผักเพื่อเกิดสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยทั่วไปคนต้องมีการบริโภคผักอย่างน้อย วันละ 200 กรัม เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน
การปลูกพืชผักสวนครัว มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของชีวิตประจำวัน เพราะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ดี ถ้าปลูกมากมีเหลือก็จำหน่ายได้ และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ขอให้มีความยึดมั่นในธรรมชาติ มีความขยันและอดทนการปลูกพืชผักสวนครัวมีหลักปฏิบัติ5ประการ

การปลูกพืชผักสวนครัว มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของชีวิตประจำวัน เพราะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ดี ถ้าปลูกมากมีเหลือก็จำหน่ายได้ และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ขอให้มีความยึดมั่นในธรรมชาติ มีความขยัน และอดทน การปลูกพืชผักสวนครัวมีหลักปฏิบัติ 5 ประการ

  1. การเลือกเมล็ดพันธุ์
    เมล็ดพันธุ์มีความจำเป็นในการเริ่มต้นในการเพาะปลูก จึงควรศึกษาเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย คัดสรรแล้วเก็บรักษาไว้อย่างดีก่อนปลูก
  2. การเตรียมดิน
    คุณภาพของดิน จะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของพืช การให้อาหารแก่ดินด้วยปุ๋ยชีวภาพจะทำให้ดินมีชีวิตและช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุในดิน ให้ดินอุดมพร้อมแก่การเพาะปลูก
2.1 แปลงใหม่ (ดินไม่สมบูรณ์)
  ถ้าดินแข็งมาก อาจใช้เครื่องจักรช่วยในการไถก่อน ยกแปลง
  ดินขาดอินทรีย์วัตถุ ควรแหวะท้องหมู ใส่ปุ๋ยแห้ง และรดด้วยปุ๋ยน้ำ
  ยกร่องให้สวยงาม โรยปุ๋ยแห้ง ตร.ม. ละ 1 กำมือ รดด้วยปุ๋ยน้ำ คลุมด้วยฟางไว้ 5-7 วัน ปลูกพืชด้วยเมล็ดหรือกล้า
     
2.2 แปลงเก่า (ดินสมบูรณ์)
  หลังจากตัดผักหรือถอนผักออกแล้ว ถอนหญ้า ปรับปรุงแปลง (ไม่ต้องขุด) แล้วเริ่มต้นดังน
  ใส่ปุ๋ยแห้ง ตร.ม.ละ 1-2 กำมือ ใช้จอบสับเบาๆ ให้คลุกกับดิน
  คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
  รดด้วยปุ๋ยน้ำ 1-2 วัน
  หมักไว้ 7 วัน ปลูกด้วยเมล็ดหรือกล้า
  1. การปลูก
3.1 การปลูกด้วยเมล็ด
  นำเมล็ดไปแช่ในน้ำจุลินทรีย์ ประมาณ 30 นาที หากผิวเมล็ดแข็งให้แช่นานหน่อย
  แหวกหญ้าหรือฟางที่คลุมออก
  ใช้ไม้กระดานหน้า 1/2 x 2 นิ้ว กดเป็นรอยลึก 1-2 เซนติเมตร
  หยอดเมล็ดตามรอยที่กดไว้
  คลุมฟางเหมือนเดิม
  รดน้ำเช้าเย็น
  2 วันแรกให้รดด้วยปุ๋ยน้ำช่วงเย็นวันละ 1 ครั้ง หลัง จากนั้น ให้รดปุ๋ยน้ำ 3 วัน / ครั้ง นอกนั้นรดน้ำปกติ
     
3.2 ปลูกด้วยกล้า
  การเพาะกล้ามี 2 ชนิด คือ
    เพาะด้วยกะบะ
  อาจเป็นภาชนะสำเร็จรูป หรือใช้ไม้ 1/2 x 2 นิ้ว หรือวัสดุอื่น ทำเป็นกระบะขนาด 50 x 50 หรือ 50 x 70 หรือ 50 x 100 เซนติเมตร ให้สามารถยกย้ายและวางบนพื้นได้สะดวก
  ผสมปุ๋ยแห้งกับดินร่วน แกลบเผา อัตราส่วน 1 : 5 : 3 ลงในกระบะ
  หยอดเมล็ดหรือหว่านเมล็ดให้ทั่วอย่าให้แน่นเกินไป
  คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางบางๆ
  รดด้วยปุ๋ยน้ำให้ชุ่ม
  จากนั้นรดน้ำ เช้า-เย็น
  รดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นติดต่อกัน 3 วัน หลังจากนั้นรดปุ๋ยน้ำ 3 วัน/ครั้ง
     
    การเพาะในแปลง
  นำปุ๋ยแห้งและแกลบเผาผสมในดิน ในแปลง คลุกให้ทั่ว ทำหน้าดินให้ละเอียด
  หยอดเมล็ด หรือ โรยเมล็ด
  คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้งบางๆ
  รดปุ๋ยน้ำให้ชุ่มทั่วแปลง
  รดน้ำ เช้า – เย็น
  3 วันแรกรดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นทุกวัน หลังจากนั้นรด 3 วัน/ครั้ง วันปกติรดน้ำธรรมดา
  1. การดูแลรักษา 
ผักเกือบทุกชนิดเพาะกล้าก่อนปลูกจะดี เพราะถ้าให้ร่นระยะเวลาในการลงปลูก สามารถปลูกได้หลายรุ่น และดูแลรักษาง่ายยกเว้นพืชผักที่ย้ายกล้าไม่ได้ เช่น แครอท หัวผักกาด การปลูกด้วยกล้า ทำให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย ดีกว่าปลูกด้วยเมล็ดแล้วต้องถอนทิ้งเมื่อผักแน่นเกินไป
ปกติจะใส่ปุ๋ยแห้งครั้งเดียว แต่ถ้าผักมีอายุยาวเกิน 50 วัน ให้สังเกตว่าผักไม่สวย ไม่สมบูรณ์ ก็ใส่ปุ๋ยแห้งได้ระหว่างแถว ไม่ให้ถูกต้นพืชผัก
การเตรียมแปลงดี ผักจะเจริญเติบโตเสมอกันทั้งแปลงผักต้นใดมีโรคให้งดน้ำ และรดด้วย EM สด ขยาย ผสมน้ำ 50 เท่า ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงให้น้ำต่อ
ผักมีหัวให้ขุดแปลงลึกๆ แหวะท้องหมูบ่อยๆ และใส่ปุ๋ยแห้งผสมให้ดี
การรดน้ำ ควรใช้บัวรดน้ำรูเล็กๆ ให้เป็นฝอยได้มากเท่าไรยิ่งดี
ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยางที่น้ำพุ่งแรงๆ จะทำให้ผักนอนราบ โดยเฉพาะผักกาดขาวจะห่อใบยาวขึ้นหากถูกน้ำซัดแรงๆ ทุกวัน
พ่นด้วยสารไล่ศัตรูพืช หรือ สารป้องกันเชื้อรา ทุกๆ 3 วัน
   
ข้อสังเกตุ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ควรปลูกผักกาดหอม ผักชีใบแหลม ปนกับผักอื่นๆ ปลูกต้นดาวเรือง ตะไคร้หอม ผกากรองไว้เป็นรั้ว และใช้ใบตะไคร้หอมมาคลุมแปลงผักจะป้องกันแมลงรบกวนได้ด้วย
  1. การเก็บผลผลิต – การจำหน่าย
การเก็บผลผลิตควรดำเนินไปตามอายุของผักแต่ละประเภท และหาก ปลูกโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพดังกล่าวข้างต้น ควรเก็บก่อนกำหนด เล็กน้อยเพราะ
ผักธรรมชาติเจริญเติบโตเร็ว
ร่นระยะเวลาปลูก ลดแรงงาน และรายจ่าย
หากเก็บช้าหรือเกินอายุทำให้ผักมีภูมิต้านทานต่ำเกิดโรคได้
การเก็บควรใช้วิธีตัด ยกเว้นผักหัวใช้ถอน
ผักที่เป็นผลควรเก็บอย่างปราณีต เพื่อให้โอกาสเกิดผลใหม่อีก เช่น ถั่ว แตง
ผักทั่วไปเก็บแล้วล้างให้สะอาด บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
ผักที่เป็นฝัก เช่น ถั่ว เก็บแล้วไม่ต้องล้าง ไม่ต้องพรมน้ำ

ข้อควรจำ

  • ผักธรรมชาติทนทาน ขั้วไม่หลุดง่าย เหี่ยวยาก
  • ไม่ต้องแช่สารเคมี
  • น้ำพรมผักหรือแช่ผักควรผสม EM ด้วย
  • ไม่ควรนำผลผลิตไปขายร่วมกับแผงผักเคมี จะทำให้เสียคุณภาพ ควรเปิดแผงผักปลอดสารพิษหรือผักธรรมชาติ เพื่อสะดวกต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภค สามารถรับรองคุณภาพและสามารถกำหนดราคาได้ดีในอนาคต

ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกพืชผัก

กุมภาพันธ์ – เมษายน

– ผักชี หอม ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ถั่วฝักยาว แตงกวา มะระ ผักกาดเขียวปลี ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว

พฤษภาคม – กรกฎาคม

– ผักคะน้า กุยช่าย บวบเหลี่ยม ข้าวโพดหวาน หอมแดง

สิงหาคม – ตุลาคม(ปลายฝน)

– ผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว ผักกาดหอม พริก มะเขือเปราะ มะเขือยาว

ปลูกได้ทั้งปี

– ผักสวนครัวต่างๆ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ โหระพา แมงลัก ฯลฯ